ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ปิ้งตาไก่, ปิ้งแดง
ปิ้งตาไก่, ปิ้งแดง
Clerodendrum japonicum (Thunb.) Sweet (Syn. Clerodendrum kaempferi (Jacq.) Siebold ex Steud.)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Lamiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum japonicum (Thunb.) Sweet (Syn. Clerodendrum kaempferi (Jacq.) Siebold ex Steud.)
 
  ชื่อไทย ปิ้งตาไก่, ปิ้งแดง
 
  ชื่อท้องถิ่น ผักปิ้งแดง(ไทใหญ่), พอกวอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ปิ้งแดงเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม สูง 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรงมีขนเล็กน้อย กิ่งและต้นเปราะ เป็นสันสี่เหลี่ยม สีดำอมน้ำตาล
 
  ใบ ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปหัวใจ ออกเรียงสลับตามข้อเป็นคู่ๆ ตั้งฉากกัน กว้าง 7-35 ซม. ยาว 4-38 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้า ขอบจัก ผิวใบหนาและสาก สีเขียวเข้ม เส้นใบสีเขียวเข้ม
 
  ดอก ดอกช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านช่อดอกย่อยสีแดง กลีบดอกสีแดง 5 กลีบ กลีบเลี้ยงสีแดง เกสรเพศผู้สีชมพูปนขาวขนาดยาว 5 อัน
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน ใช้ลวกรับประทานได้(ไทใหญ่)
- ใบ ลนไฟจนร้อนนำมาแปะบริเวณที่เป็นริดสีดวง, ใบ เข้ายาใส่ในห่อผ้าวางบนหินอังไฟแล้วนั่งทับแก้อาการปวดหลังปวดเอว(ไทใหญ่)
ราก ต้มน้ำใช้อาบแก้อาการตัวบวม อาการลมผิดเดือน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง